วันมาฆบูชา 2564

วันมาฆบูชา 2564
 

วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (หรือ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 หากเป็นปีอธิกมาส)

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ความหมายของวันมาฆบูชา

          วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 3 เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

 

ความสำคัญของวันมาฆบูชา

          วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องด้วยเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่บรรดาพระอรหันต์ จำนวน 1,250 รูป ซึ่งมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย และพระอรหันต์เหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" แปลว่า การประชุมที่พร้อมด้วยองค์ 4 ซึ่งในวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และพระพุทธองค์ได้วางหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ในการนี้ พุทธศาสนิกชนจึงถือเป็นประเพณีที่จะบำเพ็ญกุศล บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ เวียนเทียน รอบพระอุโบสถหรือพระสถูปเจดีย์ เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติไทยให้วัฒนาถาวรคู่ชาติไทยและโลกตลอดไป

กำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชา
          ปกติตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 หากปีใดเป็นอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน 4

ประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา

          ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทะเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 9 เดือน ขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะ (เดือน 3) ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้ามาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 

          1. วันนั้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

          2. พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย 

          3. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6

          4. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" และในโอกาสนี้พระพุทธเจ้าได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาสืบต่อมา

ที่มาข้อมูลโดย : เว็บไซต์กรมศาสนา https://www.dra.go.th

 
วันมาฆบูชา 2564
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
1
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2564 • การดู 2,215 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด