ตุงตั๋วเปิ้ง

ตุงตั๋วเปิ้ง
 

ปีเปิ้ง หรือปีเกิดสิบสองราศี ใช้รูปสัตว์ 12 นักษัตรแทนในรอบ 12 ปี โดยความเชื่อเรื่องนักษัตรนี้ ทั้งไทยและ

ล้านนา ได้รับมาจากระบบปฏิทินจีนโบราณ แต่ล้านนาเปลี่ยนปีใค้(ปีกุน) จากเดิมนักษัตรหมู มาเป็นช้างแทน ซึ่งการนับปีเปิ้ง จะเริ่มจากปีใจ้นักษัตรหนู แล้วสิ้นสุดที่ปีใค้นักษัตรช้าง

          นอกจากนั้น ชาวล้านนายังมีความเชื่อเรื่องชุธาตุ หรือการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง โดยสัมพันธ์กับปีนักษัตร เรียงตามลำดับ ดังนี้

 

1. ปีชวด(หนู)          ล้านนาเรียก      ปีใจ้     ไหว้พระธาตุศรีจอมทอง       จังหวัดเชียงใหม่

2. ปีฉลู(วัว)             ล้านนาเรียก      ปีเปล้า  ไหว้พระธาตุธาตุลำปางหลวง     จังหวัดลำปาง

3. ปีขาล(เสือ)         ล้านนาเรียก      ปียี      ไหว้พระธาตุช่อแฮ              จังหวัดแพร่

4. ปีเถาะ(กระต่าย)   ล้านนาเรียก      ปีเหม้า  ไหว้พระธาตุแช่แห้ง            จังหวัดน่าน

5. ปีมะโรง(งูใหญ่)   ล้านนาเรียก      ปีสี      ไหว้พระธาตุวัดพระสิงห์       จังหวัดเชียงใหม่

6. ปีมะเส็ง(งูเล็ก)    ล้านนาเรียก      ปีใส้     ไหว้พระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา     ประเทศอินเดียหรือไหว้เจดีย์พุทธคยาจำลอง วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่

7. ปีมะเมีย(ม้า)       ล้านนาเรียก      ปีสะง้า  ไหว้พระธาตุตะโก้ง(เจดีย์ชเวดากอง) ประเทศพม่าหรือไหว้พระบรมธาตุบ้านตาก จังหวัดตาก

8. ปีมะแม(แพะ)      ล้านนาเรียก      ปีเม็ด    ไหว้พระธาตุดอยสุเทพ         จังหวัดเชียงใหม่

9. ปีวอก(ลิง)          ล้านนาเรียก      ปีสัน     ไหว้พระธาตุพนม               จังหวัดนครพนม

10. ปีระกา(ไก่)       ล้านนาเรียก      ปีเร้า    ไหว้พระธาตุหริภุญชัย          จังหวัดลำพูน

11. ปีจอ(หมา)        ล้านนาเรียก      ปีเส็ด    ไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หรือไหว้เจดีย์วัดเกตการาม  จังหวัดเชียงใหม่

12. ปีกุน,กุญ(ช้าง)  ล้านนาเรียก      ปีใค้     ไหว้พระธาตุดอยตุง            จังหวัดเชียงราย

 

ในช่วงปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ ชาวล้านนามักทำตุงปีเปิ้งหรือตุงสิบสองราศีด้วยกระดาษ มีความกว้าง

ประมาณ 4-6 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตร ติดรูปตัวปีเปิ้ง 12 ตัว เริ่มจากปีใจ้นักษัตรหนู แล้วสิ้นสุดที่ปีใค้นักษัตรช้าง นำไปปักไว้ที่เจดีย์ทรายร่วมกับตุงมงคลประเภทอื่นๆ ในวันปีใหม่เมือง หรือใช้ปักกองทรายบริเวณที่ทำพิธีทานใจบ้านหรือแปลงบ้าน การใช้ตุงสิบสองราศีนี้เชื่อว่าเป็นตัวนามประจำปีเกิด เมื่อปักตุงในพื้นที่ทำพิธีแล้วจะช่วยให้พ้นเคราะห์โศกโรคภัยในปีนั้น

ข้อมูลอ้างอิง : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 6. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.หน้า 2835.

 
 
ไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ตุงตั๋วเปิ้ง.pdf

ตุงตั๋วเปิ้ง
ตุงตั๋วเปิ้ง
ตุงตั๋วเปิ้ง
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
164
4
10
3
2
2
1
1
2
เผยแพร่เมื่อ 12 เมษายน 2564 • การดู 25,695 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด