หลังคาของเรือนล้านนา

หลังคาของเรือนล้านนา
 

หลังคา

หลังคา เป็นส่วนประกอบสำคัญของเรือน สำหรับป้องกันแดด ฝน ลม ฝุ่น ไม่ให้เข้ามาในตัวเรือน หลังคาของเรือนล้านนาสามารถบอกยุคสมัย และที่มาของเรือนแต่ละแบบได้ ส่วนใหญ่แล้ว มักพบ 3 รูปแบบหลังคา คือ

หลังคาทรงจั่ว หลังคาทรงมะนิลา และหลังคาทรงปั้นหยา

หลังคาทรงจั่ว เป็นหลังคาที่เหมาะสมกับสภาพอากาศแถบร้อนชื้นมากที่สุด เพราะสามารถระบายน้ำฝนได้ดี และอากาศหมุนเวียนถ่ายเทในตัวเรือนได้สะดวก เรือนล้านนาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว มักทำจั่วเรือนขนาดใหญ่ และลาดคลุมลงมาถึงฝาเรือน ภายในหลังคาไม่ปิดฝ้าเพดาน เพื่อให้ระบายอากาศ

หลังคาทรงมะนิลา เป็นลูกผสมระหว่างทรงหน้าจั่วและทรงปั้นหยา มีหน้าจั่วขนาดเล็กเป็นช่องอากาศซึ่งช่วยในการถ่ายเทอากาศได้ หลังคาทรงนี้เป็นที่นิยมสร้างในกลุ่มเรือนพื้นถิ่นล้านนาซึ่งมีอายุประมาณ 70-80 ปี ทั้งนี้ยังนิยมสร้างเรือนในกลุ่มไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง สันนิษฐานว่าหลังจากที่กลุ่มคนไทเหล่านี้อพยพเข้ามาในล้านนาก็นำรูปแบบเรือนที่เคยอาศัยมาสร้างในล้านนาด้วย

หลังคาทรงปั้นหยา เป็นหลังคาไม่มีจั่ว คลุมในทุกทิศทางของตัวเรือน เป็นรูปแบบหลังคาที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกที่เข้ามาในล้านนา ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 ซึ่งเรือนที่สร้างด้วยหลังคาทรงนี้ก็มักจะเป็นเรือนทรงอาณานิคมตะวันตก

เขียนโดย : นางสาวฐาปนีย์ เครือระยา (หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒธรรม สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช.)

 
หลังคาของเรือนล้านนา
หลังคาของเรือนล้านนา
หลังคาของเรือนล้านนา
หลังคาของเรือนล้านนา
หลังคาของเรือนล้านนา
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
25
4
3
3
1
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 • การดู 5,784 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด