ความเชื่อเกี่ยวกับบอกไฟของคนล้านนาไทยแต่โบราณกาล ซึ่งผู้รู้ได้สันนิษฐานว่าได้รับเอาต้นแบบมาจาก
ประเพณีจิบอกไฟ เป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาชาติจีน อย่างไรก็ตามเมื่อวิธีการและประเพณีนี้ได้เข้ามาถึง
อาณาจักรล้านนาแล้ว บทบาทของการจิบอกไฟก็ถูกนำมาเกี่ยวพันกับพุทธศาสนาและโยงไปถึงศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยเฉพาะการจุดบอกไฟหมื่น นอกจากจะเป็นการจุดเป็นพุทธ-บูชาแล้ว ก็มีความเชื่อว่าเสียงดังของบอกไฟหมื่นนี้ จะทำให้พระอินทร์ พระพรหม และท้าวจตุโลกบาลได้ทราบถึงการทำบุญสุนทาน การประกอบกรรมดีของมวลหมู่มนุษย์ และจะมีผลดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดม
สมบูรณ์ แมงบ้ง คือตัวหนอนและแมลงทั้งหลายไม่มารบกวน"ครัวปลูกลูกฝัง" คือพืชที่ปลูกไว้ ให้บ้านเมืองอยู่ร่มเย็นเป็นสุขหาโจรมารมาราวีไม่ได้ มีข้าวในนา มีปลาในน้ำ วัวควายแพร่พอกออกหลาย แต่สิ่งที่แฝงอยู่กับประเพณีนี้และมีความยิ่งใหญ่มากนั้นก็คือภูมิปัญญาชาวบ้านที่รู้จักนำวัสดุใกล้ตัวมาสร้างสรรค์ผลงานรับใช้สังคมในด้านประเพณีวัฒนธรรมรวมถึงความรักความสามัคคีของหมู่คณะที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำบอกไฟ
และมีส่วนร่วมในขบวนแห่บอกไฟอันครึกครื้นสนุกสนาน ชาวล้านนาเชื่อว่า ถ้ามีการจุดบอกไฟบูชาแล้วจะมีฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาไม่ขาดน้ำจนเกิดการ "ตายแดด" พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ นอกจากนี้หลายคนยังเชื่อว่า วิธีหรืออุปเท่ห์ที่จะทำให้บอกไฟเกิดการระเบิดหรือขึ้นไม่ดีนั้นทำได้โดยเอาดินมาอุดหู เอาเท้าอุดรูปู หรือกสั้นลมหายใจเข้าออกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
การเล่นบอกไฟ เป็นการเล่นที่มีมาแต่โบราณกาล แทบจะกล่าวได้ว่าอยู่คู่กับชนชาติไทยมาเลยก็ว่าได้ ดังจะเห็นว่าในการบัญญัติให้มีกระเสมเมือง (สิ่งที่ทำให้พลเมืองมีความสุข) ของพระญามังรายนั้น ท่านว่าประกอบด้วย
ประเพณีทั้งสี่ยังมีอยู่ไม่จางหาย แม้ว่าจะเเตกต่างไปจากเดิมบ้างก็ตาม แต่ก็ยังพอให้เราได้รู้ ได้เห็นวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ดี การเล่นบอกไฟ เป็นการเล่นที่ต้องใช้เวลานานในการทำ แต่กลับใช้เวลาเล่นสั้นมากเหมือนกับกาเรเข่งขันวิ่งเร็วระยะทางสั้นๆ แต่เสียเวลาซ้อมนานเป็นเดือนๆ ทั้งนี้ต้องอาศัยฝีมือ ความชำนาญ และความสามารถเฉพาะตัวหลายๆ ด้านประกอบกัน
ชนิดของบอกไฟ ในล้านนานั้นมีบอกไฟหลายชนิด เช่น
ข้อมูลจาก : สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ
ภาพถ่ายโดย นายต่อพงษ์ เสมอใจ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |